นโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
คณะกรรมการของบริษัทมีนโยบายไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่นใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งได้กำหนดนโยบายต่อต้าน การให้สินบนและการคอร์รัปชั่นของบริษัทครอบคลุมถึงธุรกิจและรายการทั้งหมดในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยห้ามการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบที่เป็นการกระทำของกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัทตลอดจนบริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม หรือบุคคลที่สามที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอ (Offering) การให้คำมั่นสัญญา (Promising) การขอ (Soliciting) การเรียกร้อง (Demanding) การให้หรือรับสินบน (Giving or Accepting Bribes) หรือการกระทำพฤติกรรมที่ส่อไปในทางคอร์รัปชั่น
1.วัตถุประสงค์
- นโยบายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงจุดยืนของบริษัทฯ ในการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิง
- กำหนดเกณฑ์และแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้บริษัทฯ และพนักงานฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
- กำหนดกระบวนการสอบทานและกำกับติดตามเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้
- สนับสนุนให้พนักงานเฝ้าระวังและรายงานการพบเห็นการให้สินบนหรือคอร์รัปชั่น โดยผ่านช่องทางการสื่อที่ปลอดภัย
2.ขอบเขต
- นโยบายฉบับนี้บังคับใช้กับคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อยทุกคณะ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ (รวมเรียกว่า “พนักงาน”)
- บริษัทฯ คาดหวังให้ตัวแทนและตัวกลางทางธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้อง หรือกระทำการในนาม บริษัทฯ ปฏิบัติตามนโยบายนี้
3. คำนิยาม
คอร์รัปชั่น หมายถึง การติดสินบนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ โดยการนำเสนอการให้คำมั่นสัญญา การเรียกร้อง การให้ หรือการรับ ซึ่งทรัพย์สิน เงิน ทอง หรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งไม่เหมาะสมหรือการกระทำพฤติกรรมที่ส่อไปในทางคอร์รัปชั่นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจหรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจเว้นแต่ เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้
การติดสินบน หมายถึง การเสนอ การสัญญา หรือการมอบ รวมทั้งการเรียกร้อง หรือรับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่มีมูลค่า ไม่ว่าจะโดยตรงหรืออ้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจ หรือเพื่อรักษาหรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทใดโดยเฉพาะหรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ
ประเพณีนิยม หมายถึง เทศกาลหรือวันสำคัญซึ่งอาจมีการให้ของขวัญ และให้หมายความรวมถึงโอกาสในการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือการให้ความช่วยเหลือตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคมด้วย
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือในรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และบุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจ หรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ
การบริจาคเพื่อการกุศล หมายถึง การให้ทรัพยากร เช่น เวลา เงิน ทรัพย์สิน หรือบุคลากร โดยสมัครใจแก่องค์กร หรือบุคคลเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการกุศล โดยไม่ได้คาดหวังผลประโยชน์ตอบแทนในเชิงพาณิชย์
สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่กันเพื่ออัธยาศัยไมตรีที่ให้เป็นรางวัล ให้โดยเสน่หาหรือเพื่อการสงเคราะห์ หรือให้เป็นสินน้ำใจ การให้สิทธิพิเศษ ซึ่งมิใช่เป็นสิทธิที่จัดไว้สำหรับบุคคลทั่วไปในการได้รับการลดราคาสินค้า หรือการให้สิทธิพิเศษในการได้รับบริการ ความบันเทิง ตลอดจนการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือท่องเที่ยว ค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเกี่ยวกัน และไม่ว่าจะให้เป็นบัตร ตั๋ว หรือหลักฐานอื่นใด การชำระเงินให้ล่วงหน้า หรือการคืนเงินให้ในภายหลัง โอกาสทางธุรกิจ ข้อเสนอการจ้างงาน เป็นต้น
4. หน้าที่และความรับผิดชอบ
- คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่พิจารณาอนุมัตินโยบาย และสนับสนุนการต่อต้านการให้สินบน และการคอร์รัปชั่นให้เกิดขึ้นในบริษัทฯ เพื่อให้ทุกคนในบริษัทฯ
ได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น และปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร พร้อมทั้งกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบ
ได้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทว่ามีการกระทำการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ
พิจารณาบทลงโทษ และร่วมกันหาวิธีการแก้ไขปัญหา - คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบดังนี้พิจารณานโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ที่ได้รับจากกรรมการผู้จัดการ
ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจ สภาพแวดล้อมของบริษัทฯ วัฒนธรรมองค์กร และนำเสนอต่อคณะกรรมการ
บริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ - สอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบการตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล
มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรับเรื่องแจ้งเบาะแสการกระทำทุจริตคอร์รัปชั่น ที่คนในองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้อง
และตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้ง และเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัทฯ ร่วมกันพิจารณาลงโทษหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว - คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ดูแลและสนับสนุนให้บริษัทฯ มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยง
ด้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น และกำกับดูแลให้มีกระบวนที่เหมาะสมในการประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และพิจารณาสอบทานผล
การประเมินความเสี่ยงร่วมกับฝ่ายจัดการ รวมถึงกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจว่ามีการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวอย่างเพียงพอ
เหมาะสม - ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ อำนาจดำเนินการ ระเบียบปฏิบัติและกฎหมาย ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสม และเพียงพอด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
- กรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่และรับผิดชอบ ดังนี้
- กำหนดนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
- สื่อสารกับบุคลากรในองค์กร และผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้ทราบถึงนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
- ทบทวนความเหมาะสมของนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หรือข้อกำหนดของกฎหมาย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบให้ความช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจสอบ ในการสืบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งหรืองานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบที่เกี่ยวกับการสืบข้อเท็จจริงเรื่องการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น โดยสามารถมอบหมายงานให้กับคณะผู้บริหารที่เห็นว่าสามารถช่วยสืบข้อเท็จจริงได้
- ผู้บริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบทำให้มั่นใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ตระหนักถึงและมีความเข้าใจนโยบายฉบับนี้ โดยได้รับการอบรมอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอ
- พนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับนโยบายฉบับนี้ กรณีมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการฝ่าฝืนนโยบายฉบับนี้ จะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือโดยผ่านช่องทางการรายงานที่กำหนดไว้
5. แผนงานในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
บริษัทกำหนดให้ผู้บริหารในแต่ละสายงานของบริษัทร่วมกันปรึกษากับพนักงานที่อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อประเมินความเสี่ยงที่การคอร์รัปชั่นอาจจะเกิดขึ้นในบริษัท และมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ประเมินได้ และนำเสนอให้คณะกรรมการของบริษัทพิจารณาอนุมัติเป็นประจำทุก
6.ข้อกำหนดในการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ
- การสื่อสาร บริษัทจัดให้มีการนำนโยบายฉบับนี้ไปประกาศที่สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาของบริษัท พร้อมทั้งเผยแพร่ใน Website ของบริษัท
- ผู้นำ คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณารายงานผลการตรวจสอบ เพื่อนำมาปรับปรุงหรือแก้ไขนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นเป็นประจำทุกปี
โดยมอบอำนาจให้กรรมการผู้จัดการนำไปวางแผนงานเพื่อใช้ในทางปฏิบัติในทุกส่วนงานของบริษัท - การลงบันทึกและการตรวจสอบทางการเงิน ฝ่ายบัญชีมีหน้าที่กำหนดรหัสบัญชีเฉพาะ และจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายการในขอบเขต
และแนวทางปฏิบัติข้างต้น โดยแยกเก็บไว้ในแฟ้มงานต่างหากเพื่อให้สะดวกในการตรวจสอบ นอกจากนั้น บริษัทมีนโยบายว่าจ้างผู้ตรวจสอบบัญชี
ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นขอบจากสำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อพัฒนาและรักษากลไกในการรายงานทางการเงินที่มีความเหมาะสม
โดยมีความถูกต้องและโปร่งใส รวมทั้งกลไกลภายในเพื่อติดตามดูแลและควบคุมระบบการรายงานทางการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ได้รับยอมรับตามสากล - ทรัพยากรบุคคล บริษัทจัดให้มีการนำนโยบายฉบับนี้มาใช้ในการบริหารงานบุคลากรซึ่งรวมถึงการสรรหา การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม การประเมินผลงาน
การให้ค่าตอบแทน การเลื่อนตำแหน่ง และบทลงโทษพนักงาน โดยการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้จะต้องไม่มีพนักงานรายใดที่จะถูกลดขั้น ลงโทษ
หรือได้รับผลกระทบในทางลบจากการปฏิเสธการจ่ายสินบน แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะส่งผลให้บริษัทสูญเสียธุรกิจไปก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากกรรมการ
ผู้บริการ และพนักงานใดไม่ปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้จะต้องได้รับโทษตามความเหมาะสมในแต่ละกรณีตั้งแต่การลดเงินเดือน การสั่งพักงาน โดยมีโทษสูงสุดเป็นการเลิกจ้างทำงาน
- การติดตามดูแลและทบทวน บริษัทมีนโยบายว่าจ้างผู้ตรวจสอบภายในดำเนินการติดตามดูแลและทบทวนความเหมาะสม ความเพียงพอ
และประสิทธิภาพของแผนงานการตรวจสอบเป็นระยะ และดำเนินการปรับปรุงตามความเหมาะสม โดยเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบให้มีการรายงานผลการตรวจสอบ
และการทบทวนแผนงานการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทเป็นประจำทุกปีและในกรณีเร่งด่วน เลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบต้องรีบรายงานต่อคณะกรรมการ
คณะกรรมการตรวจสอบ และกรรมการผู้จัดการทันที ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะประเมินความเพียงพอของแผนงานการตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบไว้ในรายงานประจำปี
เพื่อให้ผู้ถือหุ้นรับทราบ
- การแสดงข้อกังวลและการแนะนำแนวทาง บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานและบุคคลภายนอกสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทางตู้รับความเห็นที่ตั้งไว้หน้าสำนักงานของบริษัท และ Email ใน Website ของบริษัท โดยเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รับผิดชอบในการรับฟังความคิดเห็น และแนะนำการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
- การฝึกอบรม บริษัทจัดให้มีการอบรมปฐมนิเทศให้กับพนักงานใหม่ทุกราย และการอบรม เป็นประจำทุกปีให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจในนโยบายฉบับนี้ของบริษัท
- การจัดการและความรับผิดชอบ กรรมการผู้จัดการมีหน้าที่รับผิดชอบและพิจารณามอบหมาย ในการดูแลให้เกิดการนำแผนงานไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพตามสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
7.การประเมินความเสี่ยง
- การประเมินความเสี่ยงถือเป็นรากฐานของมาตรการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ดังนั้น ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีความเข้าใจว่ากระบวนการทางธุรกิจของบริษัทฯ มีความเสี่ยงจากการให้สินบน
และการคอร์รัปชั่นได้อย่างไร เพื่อจัดการความเสี่ยงดังกล่าว ฝ่ายบริหารจะต้องประเมินความเสี่ยงจากการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยปีละครั้ง)
รวมทั้งทบทวนมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมที่จะป้องกันความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
8.การควบคุม
- บริษัทฯ จะรักษาระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิผลเพื่อต่อต้านการให้สินบน และการคอร์รัปชั่น ซึ่งครอบคลุมถึงการถ่วงดุลและการตรวจสอบระหว่างกันด้านบัญชี การจัดเก็บข้อมูลรวมถึงกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายฉบับนี้
- ระบบการควบคุมภายในจะประกอบด้วยการควบคุมทั่วทั้งองค์กร รวมถึงการควบคุมและขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งออกแบบมาเพื่อจัดการความเสี่ยงจากการคอร์รัปชั่นที่บริษัทฯ อาจต้องเผชิญเป็นเฉพาะ
- การควบคุมทั่วทั้งองค์กร ประกอบด้วย จรรยาบรรณธุรกิจ การสอบทานของฝ่ายตรวจสอบภายใน นโยบายด้านทรัพยากรบุคคลตั้งแต่การว่าจ้าง การกำหนดค่าตอบแทนและการลงโทษทางวินัยการมอบอำนาจและการแบ่งแยกหน้าที่งานอย่างเหมาะสม การบันทึกและการรายงานข้อมูลทางบัญชีและการเงินอย่างถูกต้องและเป็นจริง
9.การจัดเก็บรักษาข้อมูล
- บริษัทฯ มีนโยบายที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน หลักการ รวมทั้งกฎหมายที่บังคับใช้เกี่ยวกับการรายงานข้อมูลทางบัญชีและการเงิน
- ค่าใช้จ่ายทุกประเภทจะต้องมีเอกสารประกอบรวมทั้งการจัดเก็บและรักษาข้อมูลของบริษัทฯ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- บริษัทฯ ไม่อนุญาตให้มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นเท็จ ผิดหลักการ ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือทำการตกแต่งบัญชี รวมทั้งจะต้องไม่มีบัญชีนอกงบการเงินเพื่อใช้สนับสนุนหรือปกปิดการจ่ายเงินที่ไม่เหมาะสม
10. แนวทางปฏิบัติ
บททั่วไป
- บริษัทฯ มีนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิง และถือปฏิบัติ
ตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย - บริษัทฯ จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ทั้งทางตรง และทางอ้อม
และมุ่งมั่นที่จะนำระบบที่มีประสิทธิผลมาใช้ในการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น - กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้าน
การให้สินบนและการคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณ โดยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่น
การให้ / รับสินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน เช่น บุคลากรของบริษัทต่างๆ
ที่มีธุรกรรมร่วมกับบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ได้มาหรือคงไว้ซึ่งธุรกิจหรือข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน - พนักงานไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่น ที่เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งต่อผู้บังคับบัญชา
หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ - การคอร์รัปชั่น เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งจะต้องได้รับ
การพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ นอกจากนี้
อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย - บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงานที่แจ้ง หรือให้ความร่วมมือในการรายงานเรื่องคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
- บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่
กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้ - บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชนข้อกำหนดในการดำเนินการ
การบริจาคเพื่อการกุศลและการเป็นผู้ให้การสนับสนุน
- บริษัทฯ บริจาคเพื่อการกุศล ทั้งในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
หรือในรูปแบบอื่นๆ (เช่น ให้ความรู้หรือสละเวลา) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมตอบแทนสังคม ตลอดจนประชาสัมพันธ์
และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัทฯ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลทางธุรกิจเป็นการตอบแทน - การใช้เงิน หรือทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อบริจาคการกุศล ต้องกระทำในนามบริษัทฯ เท่านั้น โดยการบริจาคเพื่อการกุศล
ต้องเป็น มูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล วัด โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือองค์กร
เพื่อประโยชน์ทางสังคม ที่เชื่อถือได้ สามารถตรวจสอบได้ และดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ - ในการให้เงินสนับสนุน ต้องใช้เงิน หรือทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนโครงการ ต้องระบุชื่อในนามบริษัทฯ เท่านั้น
โดยเงินสนับสนุนที่จ่ายไป ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ภาพลักษณ์ที่ดี
และชื่อเสียงของบริษัทฯ และดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ - การเป็นผู้ให้การสนับสนุนเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของบริษัทฯ วิธีหนึ่ง
ซึ่งแตกต่างจากการบริจาคเพื่อการกุศล โดยอาจกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนกิจกรรม
ทางวัฒนธรรม ศิลปะ การศึกษา เป็นต้น - พนักงานต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลและการเป็นผู้ให้การสนับสนุนจะไม่ถูกนำไปใช้
เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงในการให้สินบน ตลอดจนต้องดำเนินการโปร่งใสและเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับ - ในการบริจาคเพื่อการกุศลหรือเป็นผู้ให้การสนับสนุน จะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ
ระบุชื่อผู้รับบริจาค / ผู้รับการสนับสนุนและวัตถุประสงค์ของการบริจาค / สนับสนุนพร้อมแนบ
เอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัทฯ
การให้หรือรับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด
บริษัทฯ กำหนดให้ การให้ มอบหรือรับของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง ต้องเป็นไปตาม
การกระทำในวิสัยที่สมควร ตามขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ แต่ต้องไม่มีมูลค่าเกินสมควรและไม่เป็นการกระทำ
เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการทุจริตและคอร์รัปชั่น ซึ่งบริษัทฯ มีมาตรการ
ในการดำเนินการดังนี้
- ไม่เรียกร้อง หรือร้องขอสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดกับบุคคลอื่น ที่มีหน้าที่หรือธุรกิจเกี่ยวข้อง
กับบริษัทฯ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะดำเนินการไปเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการกระทำดังกล่าวบริษัทฯ
ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ ที่ไม่เหมาะสมและมีผลทำให้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทฯ เสียหาย - ไม่รับ ไม่ให้สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ให้บริษัทฯ
อันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ต่อบริษัทฯ ไม่ว่าจะกระทำเพื่อตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อพึงพิจารณา ดังนี้
(ก) การรับหรือให้สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด กระทำได้เฉพาะในโอกาสหรือเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมที่พึงปฏิบัติแก่กัน
โดยพิจารณามูลค่าที่เหมาะสมกับโอกาส บุคคล และตำแหน่งหน้าที่ของผู้ให้และผู้รับ ทั้งนี้
การกระทำดังกล่าวจะต้องไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม
(ข) การเลี้ยงรับรองทางธุรกิจให้กระทำได้ตามจำเป็น และพิจารณาการใช้จ่าย
อย่างสมเหตุสมผลกล่าวคือ ต้องไม่มากเกินความจำเป็น หรือฟุ่มเฟือย หรือมีความถี่เป็นประจำ
บริษัทและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ
- บริษัทฯ จะแจ้งและสนับสนุนให้บริษัทในเครือ ที่บริษัทฯ มีอำนาจในการควบคุมปฏิบัติ
ตามมาตรการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น - ตัวแทนและตัวกลางทางธุรกิจ ห้ามพนักงานว่าจ้างหรือตัวกลางทางธุรกิจใด ๆ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำการให้สินบนหรือการคอร์รัปชั่น - ผู้จัดจำหน่ายสินค้า / ให้บริการและผู้รับเหมา บริษัทฯ จัดให้มีการจัดซื้อจัดหาสินค้า / บริการด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส
รวมทั้งจะดำเนินการประเมิน เพื่อคัดเลือกผู้จัดจำหน่ายสินค้า / ให้บริการและรับเหมาด้วยความรอบคอบ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะแจ้งให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้า /
ให้บริการและผู้รับเหมารับทราบนโยบายฉบับนี้
และบริษัทฯ สงวนที่จะบอกยกเลิกการจัดซื้อและว่าจ้างหากพบว่า ผู้ว่าจัดจำหน่ายสินค้า / ให้บริการและรับเหมากระทำการคอร์รัปชั่นหรือให้สินบน
การจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ บริษัทต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาจากหน่วยภาครัฐ
และรัฐวิสาหกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยการดำเนินงานของบริษัทและการติดต่องานกับภาครัฐทั้งหมดนั้น จะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส
ซื่อสัตย์ และถูกต้อง ทั้งนี้ บริษัทต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
รวมทั้งกฎหมายที่ห้ามไม่ให้มีความพยายามในการมีอิทธิพลอย่างไม่เหมาะสมต่อเจ้าหน้าที่ของภาครัฐรวมถึงกฎระเบียบ
และข้อบังคับซึ่งออกโดยสำนักคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ บริษัทห้ามไม่ให้มีการติดสินบนหรือเงินสนับสนุนในการดำเนินการ
ทางธุรกิจทุกชนิดซึ่งเกิดขึ้นโดยตรงหรือซึ่งเกิดขึ้นผ่านบุคคลที่สาม รวมถึงบริษัทย่อย บริษัทร่วมทุน ตัวแทน ผู้แทน
ที่ปรึกษา นายหน้า คู่สัญญา คู่ค้า หรือตัวกลางซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทโดยตรง ทั้งนี้
หากมีรายการที่เข้าข่ายหรือมีลักษณะคล้ายเงินสนับสนุน รายการดังกล่าวต้องดำเนินการในกระบวนการจัดซื้อทั่วไป
เพื่อให้สามารถแสดงความโปร่งใสในการใช้เงินดังกล่าวได้
- การอบรมและการสื่อสาร
- พนักงานทุกคนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น รวมถึง
การจัดให้มีการอบรมให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายฉบับนี้
โดยเฉพาะรูปแบบต่างๆ ของการให้สินบน ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบน
ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการให้สินบนหรือคอร์รัปชั่น นอกจากนี้
ยังสามารถอ่านนโยบายจากเว็บไซต์ของบริษัทและบริษัทฯ จะแจ้งให้พนักงานทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ - ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า / ให้บริการ และผู้รับเหมา
บริษัทฯ จะสื่อสารนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นให้แก่ตัวแทน
ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า / ผู้ให้บริการตลอดจนบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องทราบ
ตั้งแต่เริ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจและภายหลังตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ บริษัทฯ สนับสนุนให้ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า / ให้บริการ
และผู้รับเหมายึดมั่นในมาตรฐานการรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับบริษัทฯ
- กรณีมีข้อสงสัย
หากพนักงานคนใดเกิดความไม่มั่นใจว่าการกระทำใด อาจเข้าลักษณะเป็นการให้สินบน
หรือการคอร์รัปชั่น หรือกรณีที่มีคำถามหรือข้อสงสัย พนักงานควรปรึกษากับผู้บังคับบัญชาโดยตรง
- บุคคลผู้สามารถแจ้งเรื่องเบาะแส หรือข้อร้องเรียน
พนักงานของบริษัทฯ รวมถึงบุคคลภายนอกที่พบเห็น หรือทราบ หรือสงสัยว่า ผู้บริหาร พนักงาน
ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้กระทำการในนามบริษัทได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
หรือมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ
และข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ต่างๆของบริษัทฯ
- การรายงานการพบเห็นการให้สินบนและคอร์รัปชั่น
หากพนักงานมีข้อสงสัยหรือมีหลักฐานว่า พนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนามบริษัทฯ
ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบนหรือการคอร์รัปชั่น จะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที เมื่อบริษัทฯ
ได้รับการรายงานแล้ว จะดำเนินการอย่างจริงจัง และจะไม่ดำเนินการลงโทษใดๆ กับพนักงานที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริต
- การให้ความคุ้มครองบุคคลผู้แจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน
- บริษัทฯ ให้ความมั่นใจกับพนักงานว่าจะไม่มีพนักงานคนใดต้องถูกลดตำแหน่ง ลงโทษหรือผลกระทบใดๆ
จากการปฏิเสธการให้สินบนหรือการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการปฏิเสธดังกล่าวจะทำให้บริษัทสูญเสียธุรกิจ
หรือพลาดโอกาสทางธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อว่านโยบายต่อต้านการให้สินบน
และการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิงจะช่วยสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทฯ - บริษัทฯ ไม่ยินยอมให้ผู้ใดมากระทำการข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยวพนักงานที่ตั้งใจปฏิบัติ
ตามนโยบายฉบับนี้ ทั้งนี้ หากพนักงานถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว สาเหตุจาการปฏิเสธการให้สินบน
และการคอร์รัปชั่น ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง หรือเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบโดยทันที
และหากยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รายงานผ่านช่องทางการรายงานตามนโยบายฉบับนี้
- ช่องทางการรับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียน
บริษัทฯ ได้กำหนดช่องทางรับรับแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน การกระทำที่อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่าเป็น
การให้สินบนและการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียด
ของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน หรือหลักฐาน หรือข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบ รวมถึงแจ้งชื่อ ที่อยู่
และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ โดยผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
- แจ้งผ่านทางโทรศัพท์ โทร 03-620-0294 (แผนกบริหารทรัพยากรบุคคล)
- แจ้งทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง หรือยื่นส่งโดยตรง ได้ที่
- ประธานกรรมการตรวจสอบ
- ฝ่ายตรวจสอบภายใน
- กรรมการผู้จัดการ
- เลขานุการบริษัทฯ
ที่ บริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 88,88/1 หมู่ 1 นิคมอุสาหกรรมสระบุรี(แก่งคอย) ตำบลบ้านธาตุ อำเภอแก่งคอย
จังหวัดสระบุรี 18110
- ส่งข้อมูลผ่านช่องทาง Email ของคณะกรรมการตรวจสอบ audit@e-tech.co.th
ในกรณีที่ผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการบริษัทฯ กรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารระดับสูง
ขอให้ท่านส่งเรื่องร้องเรียนมายังประธานกรรมการตรวจสอบ โดยตรง
- ขั้นตอนการดำเนินการสืบสวนการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
- เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแส ผู้รับข้อร้องเรียนจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมข้อเท็จจริง
หรือมอบหมายให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ไว้วางใจ หรือคณะกรรมการสอบสวนเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยคณะกรรมการสอบสวนจะได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการเป็นคราวๆ ไป - หากการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มี มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหา
ได้กระทำการทุจริตและคอร์รัปชั่นจริง บริษัทฯ จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเอง
โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามที่ได้ถูกกล่าวหา - หากผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นจริง ต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัย
ตามระเบียบที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ รวมถึงหากการกระทำดังกล่าวนั้นผิดกฎหมาย จะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย
ด้วย ทั้งนี้ โทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ คำตัดสินของกรรมการผู้จัดการ ถือเป็นอันสิ้นสุด และรายงาน
แก่คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบต่อไป - ผู้แจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนจะต้องกระทำการโดยสุจริต หากบริษัทฯ พบมีการแจ้งเบาะแส
หรือข้อร้องเรียนโดยไม่สุจริต หรือมีเจตนาในการกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ฯลฯ
โดยบุคคลนั้นเป็นพนักงานของบริษัทฯ ต้องได้รับโทษทางวินัยตามระเบียบที่กำหนดไว้ แต่กรณีบุคคลนั้น เป็นบุคคลภายนอก
และบริษัทฯ ได้รับความเสียหาย บริษัทฯ จะพิจารณาดำเนินคดีกับบุคคลนั้นๆ ด้วย
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการร้องเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์
หรือฐานะทางการเงินของบริษัท ขัดแย้งนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง
และกรรมการบริษัท เป็นต้น คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการรับเรื่อง หาข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงตาม
ที่ได้รับแจ้ง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ร่วมกันพิจารณาและกำหนดโทษตามที่เห็นสมควร
- กระบวนการลงโทษ
- บริษัทฯ จะดำเนินการลงโทษทางวินัยแก่พนักงานผู้ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามนโยบายนี้ รวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่เพิกเฉยต่อการกระทำผิด
หรือรับทราบว่ามีการกระทำผิดแต่ไม่ดำเนินการจัดการให้ถูกต้อง ซึ่งมีบทลงโทษทางวินัยจนถึงขั้นให้ออกจากงาน
การไม่ได้รับรู้ถึงนโยบายฉบับนี้และ / หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามได้ - ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า / ให้บริการ หรือผู้รับเหมาใดๆ ของบริษัทฯที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามนโยบายฉบับนี้
หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเมื่อเจ้าหน้าที่สอบสวนของบริษัทฯ ได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำที่อาจขัดต่อนโยบายฉบับนี้ อาจถูกบอกเลิกสัญญาได้
- การสอบทานและกำกับติดตาม
- ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ จะต้องทบทวนนโยบายฉบับนี้เป็นประจำทุกปีและเสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ
พิจารณาอนุมัติหากมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งกำกับและติดตามการนำนโยบาย
นี้ไปปฏิบัติและให้คำแนะนำต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากต้องมีการปรับปรุงใด ๆ ต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุด - ฝ่ายตรวจสอบภายใน จะตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและกระบวนการต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิผลในการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ทั้งนี้
จะหารือผลการตรวจร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม
และจะรายงานให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบต่อไป
- นโยบายที่เกี่ยวข้อง
พนักงานควรอ่านทำความเข้าใจนโยบายและคู่มืออื่นๆ ของบริษัทฯ ดังนี้
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- จรรยาบรรณทางธุรกิจ
- ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
นโยบายการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นฉบับนี้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน
เข้าใจและพึงปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัทฯ